"น้ำมะพร้าว" ช่วยชะลออัลไซเมอร์

1940 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทุกคน ย่อมปรารถนาที่จะมีอายุยืนยาว มีพละกำลัง และมีความจำที่ดี เหมือนตอนที่ยังหนุ่มสาวด้วยกันทั้งนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นเราไม่สามารถทำได้เพราะร่างกายของคนเราย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ยิ่งเรามีอายุมากขึ้น ร่างกายและความจำก็ไม่ได้ดีเหมือนเดิม นอกจากนี้สิ่งที่ตามมาก็คือ โรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคอัลไซเมอร์ที่ผู้สูงอายุนิยมเป็นกัน และโรคนี้มีงานวิจัยออกมาแล้วว่าสามารถชะลอได้ด้วย ‘น้ำมะพร้าวอ่อน’



จากที่กล้าวมาข้างต้น โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ถูกค้นพบโดยจิตแพทย์ชาวเยอรมัน เมื่อปี 2449 ซึ่งเป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุดโดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วน เป็นแล้วไม่มีวันหาย ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีปัญหาในการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อที่เสียไป

 

เรื่องของความจำเสื่อม และในสมองของผู้ป่วยจะพบเป็นลักษณะพยาธิสภาพสมอง มีลักษณะ 3 อย่าง ดังนี้
1.กลุ่มแผ่น (Plaque)
2.เส้นใยฝอย (Fibril)
3.การฝ่อลีบของสมอง โดยเฉพาะบริเวณกลีบต่างๆ ของสมอง

ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 2-4% ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งพบผู้ป่วยโรคนี้มากขึ้น ซึ่งก็คือจะพบเพิ่มขึ้น 2 เท่า ทุก 5 ปี และโรคนี้มีงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับการหาสารจากธรรมชาติที่สามารถช่วยชะลออาการของโรคดังกล่าว ซึ่งงานวิจัยหลายตัวก็ได้พบว่า 'ถั่วเหลือง และกวาวเครือขาว'  สามารถชะลออาการของโรคนี้ได้ แต่มีงานวิจัยอีกหนึ่งตัวที่พบสารจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์เหมือนกันกับถั่วเหลือง และกวาวเครือขาว นั่นก็คือ 'น้ำมะพร้าวอ่อน' นั่นเอง

 

จากงานวิจัยของ ดร. นิซาอุดะห์ ระเด่นอาหมัด อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ พบว่าน้ำมะพร้าวอ่อนมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง และมีส่วนช่วยลดพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์ โดยการใช้หนูขาวเพศเมียที่ถูกตัดรังไข่ออกทั้งสองข้างเป็นแบบจำลองแทนสตรีวัยทอง ซึ่งก็พบว่าหนูขาวเพศเมียที่ถูกตัดรังไข่ออก และได้รับนำมะพร้าวเป็นเวลา 5 สัปดาห์มีพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์น้อยกว่าหนูกลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำมะพร้าว

นอกจากนี้การทำงานวิจัยชิ้นนี้ของดร. นิซาอุดะห์ เป็นงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนการวิจัย (สกว.) ประจำปี 2546-2548 และผลงานนี้ได้รับความสนใจสูงในระดับนานาชาติ และยังได้รับคัดเลือกให้เป็นผลงานแบบโปสเตอร์ดีเด่น สาขาประสาทกายวิภาคศาสตร์ จากงานประชุมวิชาการกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทยประจำปี 2549 ครั้งที่ 29 อีกด้วย

 

 

Cr.mgronline.com

 

 

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้